วันจันทร์ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

สารสนเทศและจริยธรรมในการใช้ระบบสารสนเทศ

1. จริยธรรมที่ดีในการใช้ระบบสารสนเทศ
1 การยอมรับสิทธิบัตรและทรัพย์สินด้านลิขสิทธิ์
2 การมีส่วนช่วยเหลือต่อชุมชนและความเป็นอยู่ที่ดีต่อมนุษย์
3 การเคารพความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น
4 ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารสนเทศทำลายผู้อื่น
5 การยอมรับเครดิตในทรัพย์สิน
2. จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ตควรคำนึงถึง
1 ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมสารสนเทศ
2 ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตน
3 ไม่ใช้สารสนเทศทำร้าย ทำลายหรือละเมิดผู้อื่น
4 ไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
5 ไม่ทำการแก้ไขข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
6 ไม่นำข้อมูลสารสนเทศสร้างหลักฐานเท็จ
7 ไม่สำเนาโปรแกรมผู้อื่นโดยไม่ซื้อลิขสิทธิ์
8 ไม่เข้าไปใช้สารสนเทศที่ไม่ใช่ของตนเอง
3. จงบอกหน้าที่และความรับผิดชอบในการใช้ Telnet 
1 ใช้กับเครื่องที่เปิดเป็นสาธารณะที่ให้ใช้ได้ หรือเครื่องที่คุณมีสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตใช้ได้ จะต้องไม่ละเมิดโดยการแอบขโมยสิทธิ์ผู้อื่นนำไปใช้โดยเด็ดขาด เช่นใช้บัญชีและรหัสผ่านของผู้อื่น
2 เครื่องที่ต่อรับ Telnet ส่วนใหญ่จะมีระเบียบและกฎเกณฑ์เฉพาะเครื่อง ควรทำความเข้าใจโดยการศึกษา ข้อกำหนด โดยเฉพาะเมื่อ login เข้าไปจะมีข้อความและคำชี้แจงบางอย่างให้อ่านและปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
3 ในการเข้าไปยังเครื่องด้วย Telnet จะต้องรีบปฏิบัติงานและใช้ด้วยเวลาจำกัดเมื่อเสร็จธุระแล้วให้รีบ logout ออกจากระบบ เพราะการทำงานแต่ละครั้งย่อมต้องใช้กำลังของเครื่องเสมอ 
4. จงบอกหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองต่อการใช้บริการ FTP 
1 เมื่อเข้าสู่ศูนย์ FTP และป้อนชื่อผู้ใช้เป็น anonymous ต้องใช้ชื่ออีเมล์แอดเดรสตามข้อกำหนดของแต่ละศูนย์ การให้อีเมล์แอดเดรสก็เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงที่บอกได้ว่าผู้ใช้บริการมีตัวตนและอ้างอิงได้
2 การคัดลอกแฟ้ม ควรเลือกเฉพาะที่ใช้งานจริงเท่านั้น ไม่ควรคัดลอกแบบไม่มีการคัดเลือก เพราะจะสร้างปัญหาในเรื่องการสื่อสารมาก ในกรณีที่ต้องการคัดลอกไฟล์ขนาดใหญ่กว่า 1 ล้านตัวอักษร ควรเลือกเวลาที่เป็นช่วงเวลานอกราชการ เช่น ตอนเย็น หรือ กลางคืน
3 การเลือกเวลา FTP ในช่วงเวลานอกงานนั้นให้ดูเวลาที่ศูนย์ FTP เป็นหลักไม่ใช่เวลาที่ต้นทางที่ทำงานอยู่
4 คัดลอกแฟ้มมาเก็บไว้ในเครื่องตามขอบเขตของโควต้าที่อนุญาตให้ถ่ายโอนมา
5 เมื่อต้องการหาชื่อไฟล์หรือสอบถาม ให้สอบถามเป็นอีเมล์
5. จงบอกหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองต่อการใช้บริการ BBS
1 ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบง่าย สุภาพและเข้าใจได้
2 ในแต่ละเรื่องที่เขียนควรเขียนให้ตรงประเด็น โดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
3 ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์ไว้อาจจะตรงประเด็นกว่า
4 ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เขียนข่าวโคมลอยหรือข่าวลือ หรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ

5 จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการ แสดงผล 

ไม่มีความคิดเห็น:

3 แม่ลูกผูกพันธ์

3 แม่ลูกผูกพันธ์

มะม๊า & ปะป๊า

มะม๊า & ปะป๊า

เกี่ยวกับฉัน