วันจันทร์ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

การใช้งานโปรแกรมประมวลผลคำ

1. จงอธิบายการกำหนดขนาดเอกสารก่อนพิมพ์
คลิกเลือกริบบอลเค้าโครงหน้ากระดาษ (Page Layout) แท็บระยะขอบ (Margins) เป็นการกำหนดระยะขอบกระดาษด้านบน (Top) ด้านล่าง (Bottom) ด้านซ้าย (Left) และด้านขวา (Right)
วางแนวกระดาษ (Orientation) เป็นการวางแนวกระดาษที่ต้องการพิมพ์ แนวตั้ง (Portrait) และแนวนอน (Landscape) ปกติกำหนดไว้เป็นแนวตั้ง
แท็บกระดาษ (Paper) เป็นการกำหนดกระดาษที่จะพิมพ์ ปกติกำหนดไว้ที่ A4 ใช้สำหรับรายงานเอกสารทั่วไป
แท็บเค้าโครง (Layout) เป็นการกำหนดว่าจะให้เริ่มต้นส่วนใหม่ในลักษณะใด ปกติจะตั้งค่าเลือกที่หน้าใหม่ (New Page) 
2. จงเขียนขั้นตอนการแทรกรูปภาพในเอกสาร
คลิกเลือกริบบอลแทรก (Insert) เลือกคำสั่งภาพตัดปะ (Clip Art) จะได้เมนูทางด้านขวา (Task Pen) ปรากฏหน้าต่างแทรกภาพตัดปะ (Clip Art) ถ้าต้องการภาพใดแทรกลงในเอกสารให้คลิกที่รูป รูปภาพจะเข้าแทรก ณ ตำแหน่งจุดแทรกข้อความ หรือคลิกขวาที่ภาพนั้น จะได้เมนูทางลัดเลือกคำสั่งคัดลอก (Copy) แล้วใช้คำสั่งวาง (Paste) ในพื้นที่เอกสารที่ต้องการจะวางรูป
3. การใช้มุมมองในการพิมพ์เอกสารมีกี่มุมมอง อะไรบ้าง
มี 4 มุมมอง ดังนี้
มุมมองปกติ (Normal View) การแสดงเอกสารปกติ
มุมมองเค้าโครงเว็บ (Web Layout View) แสดงเอกสารเหมือนการแสดงบนเว็บเพจ
มุมมองเค้าโครงเหมือนพิมพ์ (Print Layout View) เป็นมุมมองเหมือนจริงเมื่อพิมพ์งานเสร็จแล้วทำการพิมพ์เอกสารบนกระดาษ
มุมมองเค้าโครงร่าง (Outline View) ในการแสดงเอกสารทีละบรรทัด
4. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างคำสั่งย้ายและคัดลอกข้อความ
การย้ายข้อความ เอกสารที่จัดพิมพ์ สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขตำแหน่งได้ บางครั้งอาจพิมพ์ผิดตำแหน่งซึ่งผู้ใช้สารมารถจัดการได้โดยไม่ต้องลบเอกสารแล้วพิมพ์ใหม่
การคัดลอกข้อความ ในเอกสารที่จัดพิมพ์อาจมีส่วนที่ซ้ า ๆ กันหลายครั้ง เพื่อลดเวลาในการพิมพ์ข้อความที่ซ้ำ ๆ กัน สามารถใช้คำสั่งคัดลอกข้อความเดิมที่พิมพ์ไปไว้ตำแหน่งใหม่ได้
5. การใช้คำสั่งตรวจหาและแก้ไขคำผิดในเอกสารมีประโยชน์อย่างไรบ้าง อธิบาย

การตรวจหาคำผิดเพื่อการแก้ไข โปรแกรม Microsoft Word มีเครื่องมือตรวจหาคำผิดเพื่อแก้ไขโดยใช้เครื่องมือ    บนริบบอลตรวจทาน จะได้กรอบคำสั่งแสดงผลการตรวจและรอการตัดสินใจว่าจะให้ทำการแก้ไขคำผิด ละเว้น เพิ่มเติม คำใส่ให้ มีคำศัพท์มากขึ้น หรือจะทำการเปลี่ยนคำผิดใหม่ทั้งหมดก็ได้

การสร้างตาราง การปรับแต่ง และจัดพิมพ์เอกสาร

                        1. แถว (Row) คืออะไร ลักษณะแนวราบ

                        2. คอลัมน์ (Column) คืออะไร ลักษณะแนวตั้ง
                        3. เซลล์ (Cell) คืออะไร จุดที่ตัดกันของแถวและคอลัมน์
                        4. การรวมเซลล์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร การผสานเซลล์ (Merge Cell)
                        5. ก่อนทำการปรับแต่งตาราง ควรทำสิ่งใดก่อนทำการMark (แถบดำ)

                        6. รูปแบบตารางอัตโนมัติ (Table AutoFormat) หมายถึงอย่างไรรูปแบบตารางที่ได้ออกแบบไว้ 

การใช้โปรแกรมตารางทำการ

1. จงอธิบายการเรียกใช้โปรแกรม Microsoft Office Excel
คลิกปุ่ม Start " All Program " Microsoft Office " Microsoft Office Excel 2007
2.อธิบายส่วนประกอบหน้าต่างโปรแกรม Microsoft Office Excel
ชื่อส่วนประกอบ
ความหมาย
Office Button
ปุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของแฟ้มงาน(สมุดงาน)
Title Bar
แถบหัวเรื่องแสดงชื่อไฟล์ที่ใช้งานในขณะนั้น
แถบ Ribbon
เป็นศูนย์ควบคุมที่จัดเตรียมเครื่องมือและคำสั่งต่างๆ
Tool Bar
แถบเครื่องมือเป็นที่รวบรวมคำสั่งที่ใช้บ่อย
Formula Bar
ใช้แสดงหรือแก้ไขข้อมูลในเซลล์
Name Box
แสดงชื่อเซลล์ที่กำลังถูกเลือก
Column Heading
แสดงชื่อของหัวคอลัมน์
Row Heading
แสดงชื่อของหัวแถว
Worksheet Area
พื้นที่สำหรับใช้งาน
Sheet Tab
แสดงชื่อชีตใช้งาน
Status Bar
แถบแสดงสถานะ
Vertical / Horizontal Scroll Bar
ใช้เลื่อนดูข้อมูลด้ายบน / ล่าง, ซ้าย / ขวา
3. การลบข้อความออกจากเซลล์มีกี่วิธี อะไรบ้าง
             มี 2 วิธี คือ
1. เลือกเซลล์ที่ต้องการลบกดปุ่ม Delete  
2. ป้อนข้อมูลใหม่ลงในเซลล์เดิมข้อมูลเดิมจะถูกลบ
4. อธิบายการทำงานกับสมุดงานมีอะไรบ้าง
การสร้างสมุดงานใหม่ การบันทึกสมุดงาน การปิดสมุดงาน การเปิดสมุดงานเก่าขึ้นมาแก้ไข
5. บอกขั้นตอนการออกจากโปรแกรม Microsoft Office Excel
วิธีที่ 1 ใช้ปุ่ม Office Button 

วิธีที่ 2 ใช้ปุ่มคอนโทรลเมนู  มุมบนด้านขวาของหน้าต่างโปรแกรม

การใช้โปรแกรมตารางทำการในการคำนวณ

1. จงอธิบายความหมาย =Sum(a2:a15)
หมายถึงการหาผลรวมตั้งแต่เซลล์ a2ถึง a15
2. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการอ้างอิงเซลล์แบบ Relative และแบบ Absolute
การอ้างอิงเซลล์แบบ Relative เป็นการอ้างอิงแบบสัมพัทธ์โดยใช้ระยะห่างว่าค่าที่อ้างอิงในสูตรอยู่ในเซลล์ห่างออกไปกี่คอลัมน์และกี่แถว
การอ้างอิงเซลล์แบบ Absolute เป็นการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์โดยใช้เครื่องหมาย $ ไว้หน้าชื่อคอลัมน์หรือหน้าแถวเมื่อทำการคัดลอกสูตรจะไม่มีการเคลื่อนย้ายคอลัมน์หรือแถว
3. จงเขียนขั้นตอนการคัดลอกสูตรในการคำนวณ
ใช้คำสั่ง Copy Paste หรือจะใช้เทคนิคในการคัดลอกสูตรด้วย AutoFill Handle หรือ Ctrl + Enter
4. จงบอกสูตรที่ใช้ในสัญลักษณ์ ซิกม่า พร้อมอธิบายการทำงาน
Sum ใช้หาผลรวม                       Average ใช้หาค่าเฉลี่ย               Max ใช้หาค่ามากสุดหรือสูงสุด
Min ใช้หาค่าน้อยสุดหรือต่ำสุด     Count ใช้นับจำนวน
5. จงเขียนรูปแบบฟังก์ชัน IF

IF (Logical Test,Value_if_true,Value_if_false) 

การสร้างแผนภูมิและการพิมพ์รายงาน

1. การสร้างกราฟหรือแผนภูมิ ทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ทำได้ 2 วิธี คือ สร้างแบบอัตโนมัติ และสร้างด้วย Chart Wizard
2. กราฟหรือแผนภูมิที่สร้างสามารถกำหนดแสดงอะไรได้บ้างจงบอกมา 3 ชนิด
ชื่อแผนภูมิ ค่ากำกับแกน X และค่ากำกับแกน Y
3. การจัดการเกี่ยวกับชีต สามารถจัดการด้านใดบ้าง
เพิ่ม ลบ ซ่อน เปลี่ยนชื่อ
4. จงอธิบายขั้นตอนการรวมเซลล์หรือผสานเซลล์
เลือกเซลล์ที่ต้องการจากนั้นใช้คำสั่ง ผสานเซลล์
5. จงเขียนขั้นตอนการสั่งพิมพ์ตารางออกทางเครื่องพิมพ์
                        1. การดูเอกสารก่อนพิมพ์ (Print Preview) เพื่อตรวจสอบเอกสารก่อนพิมพ์

                        2. จากนั้นใช้คำสั่งพิมพ์ (Print) เพื่อพิมพ์ออกทางกระดาษ

การใช้โปรแกรมการนำเสนอผลงาน

1. จงอธิบายการเรียกใช้โปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007
ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรมนำเสนองาน สามารถทำได้ดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start บนแถบ Task bar
2. เลือก All Program " Microsoft Office
3. เลือก Microsoft Office PowerPoint 2007 จะได้หน้าต่างโปรแกรม
2.อธิบายส่วนประกอบหน้าต่างโปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007
ปุ่ม Office           เป็นปุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของแฟ้มงาน

แถบชื่อ (Title Bar) เป็นแถบที่ใช้แสดงชื่อของโปรแกรมที่กำลังเรียกใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และแสดงชื่อแฟ้มข้อมูลที่ใช้งาน ปัจจุบัน
แถบริบบอล (Ribbon ) เป็นแถบที่รวบรวมคำสั่งต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเลือกสั่งงาน ของเมนูหรือทูลบาร์ เพื่อสะดวกในการเลือกใช้งาน
แถบแสดงสถานะ (Status bar) แสดงสถานะการทำงานปัจจุบันบนหน้าจอ
แถบแสดงมุมมอง (View bar) แสดงมุมมองของเอกสารในแบบต่าง ๆ
3. แนวทางการเตรียมงานนำเสนอมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
1. การวางโครงร่าง                                  
2. การเพิ่มเติมรายละเอียด
3. การใส่วัตถุต่าง ๆ ลงในสไลด์                
4. การปรับแต่งสไลด์ให้สวยงาม
5. เพิ่มความน่าสนใจขณะนำเสนอสไลด์    
6. ซ้อมก่อนการนำเสนองานจริง
7. การพิมพ์เอกสารแจกผู้ฟัง
4. การสร้างแฟ้มนำเสนองานมีกี่วิธี อะไรบ้าง มี 2 วิธี
1. การสร้างจาก Template (ต้นแบบ)        
2. สร้างแบบ New Blank Presentation
5. บอกขั้นตอนการออกจากโปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007
วิธีที่ 1 ดับเบิ้ลคลิกปุ่ม Office Button
วิธีที่ 2 คลิกปุ่มคอนโทรลเมนู  มุมบนด้านขวาของหน้าต่างโปรแกรม
วิธีที่ 3 คลิกปุ่ม Office Button

การปรับแต่งการนำเสนอผลงาน

1. วิธีการสร้างข้อความลงในสไลด์
            การสร้างข้อความ มี 2 แบบ คือ 1. สร้างโดยใช้ Text Box 2. สร้างโดยการใช้ WordArt
1. การสร้างข้อความโดยการใช้ Text Box  เมื่อต้องการกรอบข้อความแบบปกติ ให้สร้างโดยการใช้ Text box มีขั้นตอนดังนี้
1.1 คลิกแถบริบบอลแทรก (Insert) เลือกปุ่ม Text Box
1.2 นำเมาส์คลิกวางบนสไลด์ พิมพ์ข้อมูลได้ทันที กดปุ่ม เมื่อต้องการขึ้นบรรทัดใหม่
2. การเปลี่ยนแปลงแก้ไขตกแต่ง ข้อความศิลป์ เปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง
            ลักษณะรูปร่าง สี รูปแบบ ฯลฯ
3. ในการสร้างสไลด์นำเสนอทำงานร่วมกับอะไรได้บ้าง

            ทำงานกับรูปภาพและ ClipArt ทำงานกับแผนภูมิ (Chart) ทำงานกับไฟล์ภาพยนต์และไฟล์เสียง

การสร้างภาพเคลื่อนไหวกับงานนำเสนอ

1. ประโยชน์ของการให้เทคนิคกับสไลด์
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำแผ่นสไลด์
- สามารถนำเสนอในห้องที่มีแสงสว่างน้อยได้ ไม่จำเป็นต้องทำให้ห้องมืดสนิท
- สามารถใส่ Special Effect ให้กับสไลด์ได้
- ใช้ภาพและเสียงประกอบสไลด์ได้
- สามารถตั้งเวลาในการนำเสนอได้
2. การใช้แถบ Animation กำหนดค่าอะไรให้กับสไลด์
เสียงประกอบสไลด์ กำหนดความเร็วในการเปลี่ยนสไลด์ การเปลี่ยนสไลด์
3. การกำหนด Effect ให้กับวัตถุ 
4 หมวดหมู่ คือ
1. Entrance เกี่ยวกับทางเข้า
2. Emphasis เกี่ยวกับการเน้นวัตถุ
3. Exit เกี่ยวกับทางออก
4. Motion Paths เกี่ยวกับเส้นทางในการทำเอฟเฟ็กต์
4. การกำหนดลักษณะของการนำเสนอจะต้องกำหนดดังต่อไปนี้
Start : (เริ่มแสดงวัตถุเมื่อ)
On Click คลิกเมาส์
With Previous ให้แสดงพร้อมวัตถุชิ้นก่อนหน้านี้

After Previous ให้แสดงวัตถุชิ้นก่อนหน้านี้ ซึ่งสามารถกำหนดเวลาได้ 

การใช้อินเทอร์เน็ตและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสืบค้นข้อมูล

1. ความหมายของคำว่าไซเบอร์สเปรซ
เป็นชื่อเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่อย่างกระจัดกระจายตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
2. การให้บริการบนอินเทอร์เน็ต 
1 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
2 สนทนาแบบออนไลน์ (Chat)
3 กระดานข่าวหรือบูเลตินบอร์ด (Bulletin Board)
4 บริการเข้าระบบระยะไกล (Telnet)
5 Skype, Net2Phone, Cattelecom.com
6 FTP (File Transfer Protocol - บริการโอนย้ายข้อมูล)
7 WWW (World Wide Web)
8 Game Online
9 Software Updating
3. องค์ประกอบที่ทำให้เกิดระบบเครือข่าย
1 TCP/IP อ่านว่า ทีซีพี ไอพี
2 IP Address
3 Domain Name
4. เว็บไซด์ หมายถึงอะไร
เว็บไซต์หรือ Web site หมายถึงกลุ่มของเว็บเพจที่ถูกนำเสนออยู่ภายใต้โดเมนเนมเดียวกัน เช่นเว็บไซต์ www.se-ed.com
5. โฮมเพจ หมายถึงอะไร
โฮมเพจหรือ Home page เนื่องจากแต่ละเว็บไซต์ประกอบด้วยเว็บเพจหลาย ๆ หน้าจึงมีการกำหนดหน้าแรกให้เป็นเสมือนประตูเข้าสู่เว็บไซต์เรียกว่าโฮมเพจ
6.. URL หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
URL หมายถึงตำแหน่งที่ระบุเลขที่ตั้งของเว็บไซต์นั้น ๆ คือต้องพิมพ์ URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการบนเว็บบราวเซอร์ จึงจะเข้าสู่เว็บไซต์นั้นได้
7. เมื่อใช้สัญลักษณ์   จะทำให้หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นอย่างไร
ใช้เพื่อขอรับข้อมูลเว็บเพจที่ต้องการดูจากเว็บไซด์ใหม่อีกครั้ง โดยปกติจะใช้เมื่อเว็บเพจที่ต้องการดูไม่แสดงข้อมูลหรือแสดงไม่ครบอันเนื่องมาจากการสื่อสารขัดข้องชั่วขณะ
8.  เป็นสัญลักษณ์ไว้ใช้ทำอะไร และจะใช้เมื่อไร
ใช้เพื่อบันทึก URL ของเว็บเพจที่เราสนใจและต้องการย้อนกลับมาดูอีก หลังจากบันทึกไว้แล้ว เมื่อต้องการจะย้อนกลับมาเรียกดูเว็บเพจนี้อีก ก็เพียงเข้ามาเลือกที่รายชื่อในหน้าต่าง Favorites นี้เท่านั้น หน้าต่าง Favorites นี้มีความสามารถเหมือน Windows Explorer คือสามารถสร้างโฟลเดอร์ใหท่ คัดลอก ย้าย เปลี่ยนชื่อหรือลบออก จึงสะดวกในการจัดการกับรายการ Favorites
9.เว็บไซด์ที่เป็นเซิร์ชเอ็นจิน
Google (http://www.google.com)
Yahoo (http://www.yahoo.com)
AltaVista (http://www.altavista.com)
MetaCrawler (http://www.metacrawler.com)
Catcha (http://www.catcha.co.th)
12. การสมัครเป็นสมาชิกอีเมล์ที่ Gmail.co.th

เข้าสู่ www.gmail.com จากนั้นสมัครเป็นสมาชิก โดยกรอกข้อมูลประวัติของตนเองตามแบบที่กำหนด 

สารสนเทศและจริยธรรมในการใช้ระบบสารสนเทศ

1. จริยธรรมที่ดีในการใช้ระบบสารสนเทศ
1 การยอมรับสิทธิบัตรและทรัพย์สินด้านลิขสิทธิ์
2 การมีส่วนช่วยเหลือต่อชุมชนและความเป็นอยู่ที่ดีต่อมนุษย์
3 การเคารพความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น
4 ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารสนเทศทำลายผู้อื่น
5 การยอมรับเครดิตในทรัพย์สิน
2. จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ตควรคำนึงถึง
1 ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมสารสนเทศ
2 ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตน
3 ไม่ใช้สารสนเทศทำร้าย ทำลายหรือละเมิดผู้อื่น
4 ไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
5 ไม่ทำการแก้ไขข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
6 ไม่นำข้อมูลสารสนเทศสร้างหลักฐานเท็จ
7 ไม่สำเนาโปรแกรมผู้อื่นโดยไม่ซื้อลิขสิทธิ์
8 ไม่เข้าไปใช้สารสนเทศที่ไม่ใช่ของตนเอง
3. จงบอกหน้าที่และความรับผิดชอบในการใช้ Telnet 
1 ใช้กับเครื่องที่เปิดเป็นสาธารณะที่ให้ใช้ได้ หรือเครื่องที่คุณมีสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตใช้ได้ จะต้องไม่ละเมิดโดยการแอบขโมยสิทธิ์ผู้อื่นนำไปใช้โดยเด็ดขาด เช่นใช้บัญชีและรหัสผ่านของผู้อื่น
2 เครื่องที่ต่อรับ Telnet ส่วนใหญ่จะมีระเบียบและกฎเกณฑ์เฉพาะเครื่อง ควรทำความเข้าใจโดยการศึกษา ข้อกำหนด โดยเฉพาะเมื่อ login เข้าไปจะมีข้อความและคำชี้แจงบางอย่างให้อ่านและปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
3 ในการเข้าไปยังเครื่องด้วย Telnet จะต้องรีบปฏิบัติงานและใช้ด้วยเวลาจำกัดเมื่อเสร็จธุระแล้วให้รีบ logout ออกจากระบบ เพราะการทำงานแต่ละครั้งย่อมต้องใช้กำลังของเครื่องเสมอ 
4. จงบอกหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองต่อการใช้บริการ FTP 
1 เมื่อเข้าสู่ศูนย์ FTP และป้อนชื่อผู้ใช้เป็น anonymous ต้องใช้ชื่ออีเมล์แอดเดรสตามข้อกำหนดของแต่ละศูนย์ การให้อีเมล์แอดเดรสก็เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงที่บอกได้ว่าผู้ใช้บริการมีตัวตนและอ้างอิงได้
2 การคัดลอกแฟ้ม ควรเลือกเฉพาะที่ใช้งานจริงเท่านั้น ไม่ควรคัดลอกแบบไม่มีการคัดเลือก เพราะจะสร้างปัญหาในเรื่องการสื่อสารมาก ในกรณีที่ต้องการคัดลอกไฟล์ขนาดใหญ่กว่า 1 ล้านตัวอักษร ควรเลือกเวลาที่เป็นช่วงเวลานอกราชการ เช่น ตอนเย็น หรือ กลางคืน
3 การเลือกเวลา FTP ในช่วงเวลานอกงานนั้นให้ดูเวลาที่ศูนย์ FTP เป็นหลักไม่ใช่เวลาที่ต้นทางที่ทำงานอยู่
4 คัดลอกแฟ้มมาเก็บไว้ในเครื่องตามขอบเขตของโควต้าที่อนุญาตให้ถ่ายโอนมา
5 เมื่อต้องการหาชื่อไฟล์หรือสอบถาม ให้สอบถามเป็นอีเมล์
5. จงบอกหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองต่อการใช้บริการ BBS
1 ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบง่าย สุภาพและเข้าใจได้
2 ในแต่ละเรื่องที่เขียนควรเขียนให้ตรงประเด็น โดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
3 ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์ไว้อาจจะตรงประเด็นกว่า
4 ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เขียนข่าวโคมลอยหรือข่าวลือ หรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ

5 จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการ แสดงผล 

หน้าที่การทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์


1. ชื่ออุปกรณ์ คีย์บอร์ด (Keyboard)
หน้าที่การทำงาน ใช้สำหรับป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการพิมพ์ผ่านทางแป้นพิมพ์แบบเดียวกันกับเครื่องพิมพ์ดีด
 2. ชื่ออุปกรณ์ เมาส์ (Mouse)
หน้าที่การทำงาน ใช้สำหรับสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยการบังคับตัวชี้ของเมาส์ไปที่รูปคำสั่งที่ต้องการที่แสดงอยู่บนมอนิเตอร์ และกดปุ่มของเมาส์เพื่อสั่งงาน
3. ชื่ออุปกรณ์ มอนิเตอร์(Monitor)
หน้าที่การทำงาน ใช้สำหรับแสดงผลที่ได้จากการทำงานของคอมพิวเตอร์
4. ชื่ออุปกรณ์ เครื่องพิมพ์ (Printer)
หน้าที่การทำงาน ใช้สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่ได้จากคอมพิวเตอร์ลงบนกระดาษ
 5. ชื่ออุปกรณ์ สแกนเนอร์ (Scanner)
หน้าที่การทำงาน ใช้สำหรับถ่ายสำเนาเอกสารที่อยู่ในรูปของกระดาษและบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลแบบดิจิตอล
6. ชื่ออุปกรณ์ กล้องดิจิตอล (Digital Camera)
หน้าที่การทำงาน ใช้สำหรับบันทึกภาพเช่นเดียวกับกล้องถ่ายรูปทั่วไป แต่จะบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลแบบดิจิตอล
7. ชื่ออุปกรณ์ ไมโครโฟน (Microphone)
หน้าที่การทำงาน ใช้สำหรับบันทึกเสียงเช่นเดียวกับไมโครโฟนทั่วไป แต่ถ้านำไมโครโฟนนี้มาต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ ก็สามารถบันทึกสัญญาณเสียงในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลดิจิตอลได้


8. ชื่ออุปกรณ์ เครื่องฉายภาพ (Projector)
หน้าที่การทำงาน ใช้สำหรับฉายภาพที่อยู่บนมอนิเตอร์ไปออกฉากรับภาพ ปกติจะใช้เวลาที่มีการประชุมเพื่อแสดงภาพบนมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ให้ผู้ร่วมประชุมได้ดูไปพร้อม ๆ กัน

3 แม่ลูกผูกพันธ์

3 แม่ลูกผูกพันธ์

มะม๊า & ปะป๊า

มะม๊า & ปะป๊า

เกี่ยวกับฉัน