วันอังคารที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

วิชาการบัญชีร่วมค้าและฝากขาย

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการร่วมค้า
การร่วมค้า หมายถึง การที่บุคคลหรือกิจการตั้งแต่สองคนหรือสองกิจการขึ้นไป ทำการประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยจะต้องมีข้อตกลงในสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยว่าผู้ร่วมค้าทุกคนจะต้องมีสิทธิ์หรือส่วนร่วมในการควบคุมการร่วมค้าด้วยกันในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของกิจการที่ร่วมค้าร่วมกันเพื่อให้ได้รับประโยชน์ของกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจนั้น การร่วมค้าอาจจะเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าหรือการประกอบกิจการโครงการใดโครงการหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อกิจการร่วมค้าสำเร็จลุล่วงแล้วการร่วมค้าถือว่ายุติลง
1. การร่วมค้าประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่สองคนหรือกิจการตั้งแต่สองกิจการขึ้นไปร่วมกันลงทุนเพื่อดำเนินการค้า
2. การดำเนินการค้าเฉพาะกาลใดกาลหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งกำไรจากการค้านั้น
3. เป็นการลงทุนที่ไม่ถาวรเหมือนการค้าปกติ มีขอบเขตจำกัดโดยจะสิ้นสุดเมื่อการดำเนินการค้านั้นเสร็จสิ้นลง
4. มีการนำกฎหมายว่าด้วยห้างหุ้นส่วนมาบังคับใช้ เช่น การลงทุน และการแบ่งสรรกำไร เป็นต้น
วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการร่วมค้าของผู้ร่วมค้านั้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการร่วมค้า ซึ่งรูปแบบของการร่วมค้า ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 46 สามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมค้า (Jointly Controlled operations)
รูปแบบที่ 2 สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Assets)
รูปแบบที่ 3 กิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมค้า (Jointly Controlled Entities )
รูปแบบที่ 1 การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมค้า (Jointly Controlled operations)
การดำเนินงานของกิจการร่วมค้ารูปแบบนี้จะไม่มีการจัดตั้งกิจการร่วมค้าเป็นหน่วยงานตามกฎหมายแยกออกจากเดิมแต่จะแฝงการร่วมค้าอยู่ในกิจการเดิม โดยผู้ร่วมค้าแต่ละรายจะใช้ความรู้ความชำนาญและสินทรัพย์ของตน เช่น อุปกรณ์ โรงงาน
รูปแบบที่ 2 สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Assets)
การดำเนินงานของกิจการร่วมค้ารูปแบบนี้จะเหมือนกับรูปแบบแรก คือ ไม่มีการจัดตั้งกิจการร่วมค้าเป็นหน่วยงานตามกฎหมายแยกออกจากิจการ โดยจะแฝงการร่วมค้าอยู่ในกิจการเดิมผู้ร่วมค้าแต่ละรายจะนำสินทรัพย์ของตนมาให้ผู้ร่วมค้ารายอื่นๆ ใช้ร่วมกัน หรืออาจเป็นเจ้าของร่วมกันในสินทรัพย์ที่ซื้อมาเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ของกิจการร่วมค้า
การบันทึกบัญชีและการแสดงรายการของการร่วมค้าจะแสดงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติ
รูปแบบที่ 3 กิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมค้า (Jointly Controlled Entities )
การดำเนินงานขอองกิจการร่วมค้ารูปแบบนี้จะมีการจัดตั้งกิจการร่วมค้าเป็นหน่วยงานตามกฎหมาย จึงสามารถแยกออกจากกิจการเดิม โดยกิจการที่ตั้งขึ้นมาใหม่จะมีสัญญาซึ่งระบุให้ผู้ร่วมค้าทุกรายมีอำนาจควบคุมร่วมกันในการดำเนินงานของกิจการร่วมค้า
---การบันทึกบัญชีและงบการเงิน กิจการร่วมค้ารูปแบบนี้เป็นหน่วยงานแยกออกมาตามกฎหมาย จึงสามารถที่จะมีสินทรัพย์ ก่อหนี้สิน และมีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเป็นของตนเองได้ ดังนั้นจึงต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินของกิจการเองตามมาตรฐานการบัญชีเช่นเดียวกับกิจการทั่วไป
---การจัดแบ่งรูปแบบของกิจการร่วมค้าตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 46 สามารถจัดแบ่งรูปแบบได้ 3 รูปแบบ จะพบการดำเนินงาน 2 รูปแบบแรก คือ การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Operations) และสินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Assets ) จะมีรูปแบบที่เหมือนกัน คือ ไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นหน่วยงานตามกฎหมายโดยจะแฝงการร่วมค้าอยู่ในกิจการเดิม ส่วนการดำเนินงานรูปแบบที่สาม เป็นแบบกิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมกัน (Jointly Controlled Entities ) ซึ่งจะมีการจัดตั้งการร่วมค้าเป็นหน่วยงานตามกฎหมายแยกการร่วมค้าออกจากิจการเดิมของผู้ร่วมค้าแต่ละคน ดังนั้น
วิธีการบัญชีสำหรับกิจการร่วมค้าสามารถแบ่งได้ 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 วิธีการบันทึกบัญชีการร่วมค้าโดยไม่เปิดสมุดบัญชีกิจการร่วมค้าแยกต่างหาก
วิธีที่ 2 วิธีการบันทึกบัญชีการร่วมค้าโดยเปิดสมุดบัญชีกิจการร่วมค้าแยกต่างหาก
การฝากขาย
การฝากขาย หมายถึง การที่บุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าเรียกว่า “ผู้ฝากขาย (Consignor)”ส่งสินค้าไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า“ผู้รับฝากขาย (Consignee)” เพื่อช่วยทำหน้าที่ขายสินค้าแทน
ขั้นตอนการฝากขาย
---1. ผู้ฝากขายส่งสินค้าที่ต้องการฝากขายไปยังผู้รับฝากขาย
---2. เมื่อผู้รับฝากขายขายสินค้าได้จะส่งมอบสินค้าไปยังผู้ซื้อ
---3. ผู้ชำระเงินค่าสินค้าไปยังผู้รับฝากขาย
---4. ทุกสิ้นเดือนผู้รับฝากขายจัดทำรายงานการขาย ซึ่งสรุปยอดขายสินค้า รับฝากขายหักค่าค่านายหน้าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับฝากขาย (ดังแสดงดังภาพต่อไปนี้)
ประโยชน์ของการฝากขาย
ด้านผู้ฝากขาย
---1. เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ
---2. เพื่อช่วยขยายตลาดของสินค้า
---3. เพื่อช่วยในการเลือกผู้รับฝากขาย/ตัวแทนได้อย่างเหมาะสม
---4. เพื่อช่วยควบคุมราคาขายปลีกให้แก่ผู้บริโภค
ด้านผู้รับฝากขาย
---1. เพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของราคา
---2. เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากสินค้าล้าสมัย
---3. ทำให้ไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก
---4. ได้รับผลตอบแทนจากการรับฝากขาย

ไม่มีความคิดเห็น:

3 แม่ลูกผูกพันธ์

3 แม่ลูกผูกพันธ์

มะม๊า & ปะป๊า

มะม๊า & ปะป๊า

เกี่ยวกับฉัน