วันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7

แถลงการณ์มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 7
เรื่อง การบัญชีสำหรับการให้เช่าซื้อ – ทางด้านผู้ให้เช่าซื้อนี้ให้เริ่มถือปฏิบัติสำหรับงบการเงินที่มีงวดการบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2530 เป็นต้นไป Chart TAS 7
-----1.ในกรณีที่มีกำไรเกิดจากการขายให้รับรู้เป็นรายได้ทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการให้เช่าซื้อหรืออาจรับรู้กำไรที่กล่าวเป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามงวดที่ถึงกำหนดชำระก็ได้
-----2.การรับรู้ดอกผลเช่าซื้อเป็นรายได้ควรใช้วิธีที่ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับวิธีการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม กล่าวคือ ในกรณีที่เป็นการให้เช่าซื้อระยะยาวควรคำนวณโดยใช้ตารางเงินรายปี ส่วนกรณีที่เป็นการให้เช่าชื้อระยะสั้นอาจคำนวณตามวิธีผลรวมจำนวนตัวเลขก็ได้ ในกรณีที่ไม่ได้รับชำระเงินค่างวดตามกำหนดและไม่มีเหตุผลที่สนับสนุนได้ว่าเรียกเก็บเงินได้ก็สมควรที่จะเลื่อนการรับรู้รายได้นั้นออกไป ทั้งนี้ ให้เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย
-----3.ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาและผู้ให้เช่าซื้อเรียกทรัพย์สินนั้นค่น ควรบันทึกบัญชีโดยโอนยอดคงเหลือสุทธิของบัญชีลูกหนี้เช่าซื้อโดยหักบัญชีดอกผลเช่าซื้อรอการตัดบัญชีสำหรับผู้เช่าซื้อรายนั้นไปแสดงในบัญชีทรัพย์สินรอการขาย ทั้งนี้ เมื่อวันสิ้นรอบระยะเวลาการบัญชีให้แสดงยอดของทรัพย์สินรองการขายไว้ในราคาตลาดหรือราคาตามบัญชีแล้วแต่อย่างไรจะต่ำกว่า
-----4.สำหรับการแสดงยอดลูกหนี้เช่าซื้อในงบดุล ให้แสดงยอดตามจำนวนเงินเช่าซื้อคงค้างเป็นยอดสุทธิโดยหักยอดคงเหลือของดอกผลเช่าซื้อรอการตัดบัญชี และแสดงรายละเอียดของรายการดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
-----5.แถลงการณ์มาตรฐานการบัญชีนี้ให้ถือเป็นหลักในการบัญชีสำหรับการขายโดยวิธีผ่อนชำระทางด้าน ผู้ขายด้วยโดยอนุโลม

ความแตกต่างระหว่าง การขายผ่อนชำระ และ การเช่าซื้อ

การขายผ่อนชำระ หมายถึง การที่ผู้ขายส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ซื้อ โดยยินยอมให้ผู้ซื้อจ่ายชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการบางส่วน ซึ่งเรียกว่า เงินวางเริ่มแรก หรือ เงินดาวน์ ส่วนที่เหลือจ่ายชำระเป็นงวด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
การเช่าซื้อ หมายถึง การที่เจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว และที่สำคัญ การเช่าซื้อต้องทำสัญญาและสัญญาเช่าซื้อถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ถือว่าเป็นโมฆะ
ในทางกฏหมาย แล้ว การขายผ่อนชำระใช้ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย เอกเทศสัญญา ลักษณะ ๑ การซื้อขาย ส่วนการเช่าซื้อใช้ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย เอกเทศสัญญา ลักษณะ ๕ การเช่าซื้อ เป็นเกณฑ์บังคับในการปฏิบัติ นอกจากนี้ที่สำคัญ ในทางกฏหมาย การขายผ่อนชำระ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปให้ผู้ซื้อทันทีที่มีการตกลงซื้อขาย ส่วน การเช่าซื้อ นั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่าอยู่
ในทางการบัญชี อนุโลมให้ผู้ขายใช้หลักการบัญชีเดียวกัน สำหรับการขายผ่อนชำระและการเช่าซื้อ ทั้งนี้เนื่องจาก นักบัญชี พิจารณาจากเจตนา กล่าวคือ ผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ทรัพย์สินนั้นแล้วนับแต่วันที่ตกลงซื้อขายกัน กระบวนการก่อให้เกิดรายได้สำเร็จแล้ว สามารถรับรู้ กำไรขั้นต้น ในงวดที่มีการขาย แต่เนื่องจากการขายผ่อนชำระหรือการให้เช่าซื้อมีระยะเวลาการผ่อนชำระยาวนาน เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี การรับรู้กำไรขั้นต้น จึงอาจรับรู้โดยวิธีที่ถือว่า กำไรขั้นต้นเกิดขึ้นตามส่วนของเงินสดที่ได้รับชำระ

วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

การบัญชีห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วน (Partnerships) คือ องค์การธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รับผิดชอบเรื่องกันในการดำเนินการ และจะแบ่งกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมี 2 ชนิด คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ตัวย่อ (หสน.) ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนที่มีบุคคล 2 คนขึ้นไปมาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเป็น"หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด" หมายถึง ถ้าห้างหุ้นส่วนมีหนี้ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ทุกคนที่เป็นหุ้นส่วน ต้องรับผิดชอบหนี้ทั้งหมด โดยไม่จำกัดจำนวนและหุ้นส่วนแต่ละคนมีอำนาจในการจัดการกิจการของห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นห้างหุ้นส่วนซึ่งประกอบด้วยหุ้นส่วนอยู่ 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด หมายถึงถ้าห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดก่อนและมีสิทธิเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนอีกประเภทคือหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด รับผิดจำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุนและไม่มีสิทธิ์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่มีสิทธิที่จะสอบถามการดำเนินกิจการของห้าง

3 แม่ลูกผูกพันธ์

3 แม่ลูกผูกพันธ์

มะม๊า & ปะป๊า

มะม๊า & ปะป๊า

เกี่ยวกับฉัน