วันอังคารที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

การใช้เครื่องใช้สำนักงาน (2201 - 2007)

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสำนักงานและเครื่องใช้สำนักงาน
- ความหมายและความสำคัญของสำนักงาน
- การจัดสำนักงาน
- การบริหารสำนักงาน
- การพัฒนาบุคลากรในสำนักงาน
- ประเภทของวัสดุและเครื่องใช้สำนักงาน
- ประโยชน์และหลักเกณฑ์การเลือกซื้อเครื่องใช้สำนักงาน

หน่วยที่ 2 เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า
- ส่วนประกอบของเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า
- วิธีการใช้เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า
- วิธีการใช้เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า
- วิธีการบำรุงรักษา

หน่วยที่ 3 เครื่องอัดสำเนา
- ประโยชน์ของเครื่องอัดสำเนา
- ส่วนประกอบของเครื่องอัดสำเนา
- วิธีการใช้เครื่องอัดสำเนา
- การบำรุงรักษาเครื่องอัดสำเนา

หน่วยที่ 4 เครื่องปรุงกระดาษไข
- ความสำคัญของเครื่องปรุงกระดาษไข
- ส่วนประกอบของเครื่องปรุงกระดาษไข
- วิธีใช้เครื่องปรุงกระดาษไข
- วิธีการดูแลและรักษาเครื่องปรุงกระดาษไข

หน่วยที่ 5 เครื่องอัดสำเนาระบบดิจิตอล
- ส่วนประกอบของเครื่องอัดสำเนาระบบดิจิตอล
- วิธีการใช้เครื่องอัดสำเนาระบบดิจิตอล
- วิธีการบำรุงรักษาเครื่องอัดสำเนาระบบดิจิตอล

หน่วยที่ 6 เครื่องคำนวณเลข
- ประวัติความเป็นมาของเครื่องคำนวณเลข
- ประเภทของเครื่องคำนวณเลข
- ส่วนประกอบของเครื่องคำนวณเลข
- หลักการใช้แป้นเครื่องคำนวณเลข
- การใช้เครื่องคำนวณเลข

หน่วยที่ 7 เครื่องบันทึกเงินสด
- ความสำคัญของเครื่องบันทึกเงินสด
- ส่วนประกอบของเครื่งอบันทึกเงินสด
- วิธีการใช้เครื่องบันทึกเงินสด
- วิธีการบำรุงรักษาเครื่องบันทึกเงินสด

หน่วยที่ 8 เครื่องโทรศัพท์
- วิวัฒนาการเครื่องโทรศัพท์
- ระบบโทรศัพท์
- ส่วนประกอบของเครื่องโทรศัพท์
- วิธีการใช้เครื่องโทรศัพท์
- เครื่องติดต่อภายใน

หน่วยที่ 9 เครื่องโทรสาร
- ความสำคัญของเครื่องโทรสาร
- ส่วนประกอบของเครื่องโทรสาร
- การใช้เครื่องโทรสาร
- การบำรุงรักษาเครื่องโทรสาร

หน่วยที่ 10 เครื่องถ่ายเอกสาร
- ความสำคัญของเครื่องถ่ายเอกสาร
- ส่วนประกอบของเครื่องถ่ายเอกสาร
- วิธีการถ่ายเอกสาร
- วิธีการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร

หน่วยที่ 11 เครื่องใช้สำนักงานทั่วไป
- อุปกรณ์ตัดเย็บกระดาษ
- อุปกรณ์ลบคำผิด
- อุปกรณ์การเขียน
- อุปกรณ์การจัดเก็บเอกสารและสิ่งของ

วิชากฎหมายพาณิชย์ (2201 - 1017)

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาพาณิชย์
- ความหมายของคำว่าพาณิชย์
- กฎหมายพาณิชย์และเอกเทศสัญญา

หน่วยที่ 2 นิติกรรม
- ลักษณะทั่วไปของนิติกรรม
- ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม
- แบบแห่งนิติกรรมและวัตถุประสงค์ของนิติกรรม
- การแสดงเจตนาของผู้ทำนิติกรรม
- ผลของความไม่สมบูรณ์แห่งนิติกรรม
- อายุความนิติกรรม

หน่วยที่ 3 สัญญา
- สาระสำคัญและความสมบูรณ์แห่งสัญญา
- การก่อให้เกิดสัญญาและประเภทของสัญญา
- การเลิกสัญญา
- ประโยชน์ของสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรและการเขียนสัญญา

หน่วยที่ 4 ซื้อขาย
- ความหมายและองค์ประกอบที่สำคัญของสัญญาซื้อขาย
- ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันได้
- หลักเกณฑ์การซื้อขาย
- คำมั่นจะซื้อหรือจะขาย
- การโอนกรรมสิทธิ์
- หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขายและผู้ซื้อ
- การซื้อขายเฉพาะบางอย่าง
- อายุความการซื้อขาย

หน่วยที่ 5 แลกเปลี่ยน
- ควาหมายคำว่าแลกเปลี่ยน
- ลักษณะสำคัญของแลกเปลี่ยน
- บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- การเพิ่มเงินในการแลกเปลี่ยน

หน่วยที่ 6 ให้
- ลักษณะสำคัญของการให้
- จะให้หรือคำมั่นว่าจะให้
- การให้อันมีค่าภาระติดพัน
- การถอนคืนการให้
- การให้อันเป็นผลต่อเมื่อผู้ให้ตาย

หน่วยที่ 7 เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
- ลักษณะสำคัญของสัญญาเช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
- หลักเกณฑ์การทำสัญญาเช่าทรัพย์
- ลำดับสิทธิของผู้เช่าที่อาศัยมูลสัญญาเช่าต่างราย
- กำหนดระยะเวลาเช่าทรัพย์
- การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า
- การเช่าช่วง
- หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้เช่าและผู้เช่า
- ความระงับแห่งสัญญา
- ผลการผิดนัดสัญญาเช่าซื้อ

หน่วยที่ 8 จ้างแรงงาน - จ้างทำของ
- ลักษณะสำคัญของจ้างแรงงาน - จ้างทำของ
- แบบของสัญญาจ้างแรงงาน - จ้างทำของ
- สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
- ความระงับแห่งสัญญาจ้างแรงงาน - จ้างทำของ
- กฎหมายแรงงานที่ควรทราบ
- การส่งสมอบและความรับผิดหลังส่งมอบงาน
- อายุความการจ้างทำของ
- ข้อเหมือนและแตกต่างลักษณะจ้างทำของกับจ้างแรงงาน

หน่วยที่ 9 ยืม
- ลักษณะทั่วไปของสัญญายืม
- ยืมให้คงรูป
- ยืมใช้สิ้นเปลือง
- กู้ยืมเงิน

หน่วยที่ 10 ค้ำประกัน
- ลักษณะสำคัญของสัญญาค้ำประกัน
- ค้ำประกันมีได้แต่เฉพาะหนี้อันสมบูรณ์
- ผู้รับเรือนและผู้ค้ำประกันหลายคน
- ความรับผิดและสิทธิของผู้ค้ำประกัน
- ความระงับของสัญญาค้ำประกัน
- ข้อปฏิบัติในการทำสัญญาค้ำประกัน

หน่วยที่ 11 จำนอง - จำนำ
- ความหมายและลักษณะสำคัญของจำนอง - จำนำ
- หลักเกณฑ์การจำนอง - จำนำ

วันพุธที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

วันพฤหัสบดีที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓

วิชาเทคโนโลยีสำนักงาน 2201 - 2418

เทคโนโลยีสำนักงาน
-- เทคโนโลยีสำนักงาน (Office Technology) คือ เทคโนโลยี 2 ด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการบริหารงานสำนักงาน ช่วยให้เกิดความรวดเร็ว ความสะดวกสบาย ความคล่องตัว
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน
-----1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีฐานข้อมูล
-----2. เทคโนโลยีสำนักงาน หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้งานสำนักงานสะดวกขึ้น เช่น เครื่องบันทึกเงินสด เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องทำสำเนาระบบดิจิตอล เครื่องโทรสาร ฯลฯ
-----3. เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรสาร การสื่อสารผ่านดาวเทียม ฯลฯ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในสำนักงาน
เทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้ในสำนักงานนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ
-----1. ระดับปฏิบัติการ เข้ามาช่วยในกิจกรรมบางอย่างที่ต้องทำซ้ำ ๆ กันโดยไม่ต้องมีการตัดสินใจ
-----2. ระดับสนับสนุนการทำงาน เข้ามาช่วยในการรวบรวมข้อมูล ข่าวสารที่ใช้ในกิจการ การจัดการระบบจัดเก็บเอกสาร
-----3. ระดับบริหาร ช่วยในการควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานต่าง ๆ ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการทำงาน
-----4. ระดับกลยุทธ์ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดกลยุทธ์เพื่อต่อสู่แข่งขันกับคู่แข่งในระยะยาวโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกของธุรกิจ
หลักสำคัญในการจัดการเทคโนโลยี
---1. มีนโยบายในการจัดการเทคโนโลยี
---2. มีผู้รับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยี
---3. มีการวางแผนการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า
---4. มีการจัดสสรรทรัพยากรสำหรับการปฏิบัติงาน
---5. มีการจัดฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน
---6. มีการกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
---7. มีการดำเนินงานตามกิจกรรมที่กำหนดไว้
---8. มีการวัดผลการดำเนินงาน
---9. มีการจัดเก็บบันทึกรายละเอียดการดำเนินงานอย่างครบถ้วน
---10. มีการรายงานผลต่อผู้บริหารระดับสูง
ความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้
---1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ
---2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน
---3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง
ประเภทของสำนักงาน
---1. สำนักงานของภาครัฐ ได้แก่ กระทรวง กรม กอง หรือสถานที่ของทางราชการทั้งหมด
---2. สำนักงานของภาคเอกชน ได้แก่ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร้านค้า ห้างร้านหรือสถานประกอบการอื่น ๆ
ลักษณะของงานสำนักงานที่สำคัญ มี 7 ด้าน ได้แก่
--1. ด้านบริการผู้บริหาร
--2. ด้านข้อมูลและเอกสาร
--3. ด้านอาคารสถานที่ พัสดุและอุปกรณ์
--4. ด้านการจัดการบุคลากร
--5. ด้านการเงินและการบัญชี
--6. ด้านการจัดการประชุม
--7. งานประชาสัมพันธ์
สำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง กระบวนการในการนำเอาระบบการสื่อสารข้อมูลที่ทันสมัยแบบเครือข่าย เข้ามาช่วยในงานสำนักงานเพื่อที่จะให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการบันทึกข้อมูลข่าวสารและสื่อไปยังผู้ต้องการใช้ได้ทันที
ประโยชน์ของสำนักงานอัตโนมัติ
--1. ประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่าย
--2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
--3. ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องและรวดเร็ว
--4. ผู้ปฏิบัติงานมีความภาคภูมิใจในสำนักงานและหน่วยงานมากขึ้น
--5. หน่วยงานและสำนักงานมีภาพลักษณ์ที่ดี
องค์ประกอบของสำนักงานอัตโนมัติ ประกอบด้วย
--1. บุคลากร
--2. กระบวนการปฏิบัติงาน
--3.เอกสารข้อมูลสารสนเทศ
--4. เทคโนโลยี
--5. การบริหารจัดการ
เทคโนโลยีเพื่อสำนักงานอัตโนมัติ ประกอบด้วย
--1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
--2. เทคโนโลยีโทรคมนาคม
--3. เทคโนโลยีภาพกราฟิก
--4. ระบบอินเทอร์เน็ต
ระบบที่ใช้ในสำนักงานอัตโนมัติ
--1. การเก็บค้นด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
--2. การส่งข้อมูลข่าวสารด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
--3. การวางรูปแบบของเอกสารด้วยระบบประมวลผลคำ
--4. การใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหาร
--5. การใช้ระบบเสียงหรือ Voice Processing
ระบบสารสนเทศสำนักงาน แบ่งเป็น 4 ประเภท
--1. ระบบการจัดการเอกสาร
--2. ระบบการจัดการข่าวสาร
--3. ระบบการประชุมทางไกล
--4. ระบบสนับสนุนสำนักงาน

วันอังคารที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

วิชาการบัญชีร่วมค้าและฝากขาย

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการร่วมค้า
การร่วมค้า หมายถึง การที่บุคคลหรือกิจการตั้งแต่สองคนหรือสองกิจการขึ้นไป ทำการประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยจะต้องมีข้อตกลงในสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยว่าผู้ร่วมค้าทุกคนจะต้องมีสิทธิ์หรือส่วนร่วมในการควบคุมการร่วมค้าด้วยกันในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของกิจการที่ร่วมค้าร่วมกันเพื่อให้ได้รับประโยชน์ของกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจนั้น การร่วมค้าอาจจะเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าหรือการประกอบกิจการโครงการใดโครงการหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อกิจการร่วมค้าสำเร็จลุล่วงแล้วการร่วมค้าถือว่ายุติลง
1. การร่วมค้าประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่สองคนหรือกิจการตั้งแต่สองกิจการขึ้นไปร่วมกันลงทุนเพื่อดำเนินการค้า
2. การดำเนินการค้าเฉพาะกาลใดกาลหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งกำไรจากการค้านั้น
3. เป็นการลงทุนที่ไม่ถาวรเหมือนการค้าปกติ มีขอบเขตจำกัดโดยจะสิ้นสุดเมื่อการดำเนินการค้านั้นเสร็จสิ้นลง
4. มีการนำกฎหมายว่าด้วยห้างหุ้นส่วนมาบังคับใช้ เช่น การลงทุน และการแบ่งสรรกำไร เป็นต้น
วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการร่วมค้าของผู้ร่วมค้านั้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการร่วมค้า ซึ่งรูปแบบของการร่วมค้า ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 46 สามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมค้า (Jointly Controlled operations)
รูปแบบที่ 2 สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Assets)
รูปแบบที่ 3 กิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมค้า (Jointly Controlled Entities )
รูปแบบที่ 1 การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมค้า (Jointly Controlled operations)
การดำเนินงานของกิจการร่วมค้ารูปแบบนี้จะไม่มีการจัดตั้งกิจการร่วมค้าเป็นหน่วยงานตามกฎหมายแยกออกจากเดิมแต่จะแฝงการร่วมค้าอยู่ในกิจการเดิม โดยผู้ร่วมค้าแต่ละรายจะใช้ความรู้ความชำนาญและสินทรัพย์ของตน เช่น อุปกรณ์ โรงงาน
รูปแบบที่ 2 สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Assets)
การดำเนินงานของกิจการร่วมค้ารูปแบบนี้จะเหมือนกับรูปแบบแรก คือ ไม่มีการจัดตั้งกิจการร่วมค้าเป็นหน่วยงานตามกฎหมายแยกออกจากิจการ โดยจะแฝงการร่วมค้าอยู่ในกิจการเดิมผู้ร่วมค้าแต่ละรายจะนำสินทรัพย์ของตนมาให้ผู้ร่วมค้ารายอื่นๆ ใช้ร่วมกัน หรืออาจเป็นเจ้าของร่วมกันในสินทรัพย์ที่ซื้อมาเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ของกิจการร่วมค้า
การบันทึกบัญชีและการแสดงรายการของการร่วมค้าจะแสดงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติ
รูปแบบที่ 3 กิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมค้า (Jointly Controlled Entities )
การดำเนินงานขอองกิจการร่วมค้ารูปแบบนี้จะมีการจัดตั้งกิจการร่วมค้าเป็นหน่วยงานตามกฎหมาย จึงสามารถแยกออกจากกิจการเดิม โดยกิจการที่ตั้งขึ้นมาใหม่จะมีสัญญาซึ่งระบุให้ผู้ร่วมค้าทุกรายมีอำนาจควบคุมร่วมกันในการดำเนินงานของกิจการร่วมค้า
---การบันทึกบัญชีและงบการเงิน กิจการร่วมค้ารูปแบบนี้เป็นหน่วยงานแยกออกมาตามกฎหมาย จึงสามารถที่จะมีสินทรัพย์ ก่อหนี้สิน และมีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเป็นของตนเองได้ ดังนั้นจึงต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินของกิจการเองตามมาตรฐานการบัญชีเช่นเดียวกับกิจการทั่วไป
---การจัดแบ่งรูปแบบของกิจการร่วมค้าตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 46 สามารถจัดแบ่งรูปแบบได้ 3 รูปแบบ จะพบการดำเนินงาน 2 รูปแบบแรก คือ การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Operations) และสินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Assets ) จะมีรูปแบบที่เหมือนกัน คือ ไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นหน่วยงานตามกฎหมายโดยจะแฝงการร่วมค้าอยู่ในกิจการเดิม ส่วนการดำเนินงานรูปแบบที่สาม เป็นแบบกิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมกัน (Jointly Controlled Entities ) ซึ่งจะมีการจัดตั้งการร่วมค้าเป็นหน่วยงานตามกฎหมายแยกการร่วมค้าออกจากิจการเดิมของผู้ร่วมค้าแต่ละคน ดังนั้น
วิธีการบัญชีสำหรับกิจการร่วมค้าสามารถแบ่งได้ 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 วิธีการบันทึกบัญชีการร่วมค้าโดยไม่เปิดสมุดบัญชีกิจการร่วมค้าแยกต่างหาก
วิธีที่ 2 วิธีการบันทึกบัญชีการร่วมค้าโดยเปิดสมุดบัญชีกิจการร่วมค้าแยกต่างหาก
การฝากขาย
การฝากขาย หมายถึง การที่บุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าเรียกว่า “ผู้ฝากขาย (Consignor)”ส่งสินค้าไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า“ผู้รับฝากขาย (Consignee)” เพื่อช่วยทำหน้าที่ขายสินค้าแทน
ขั้นตอนการฝากขาย
---1. ผู้ฝากขายส่งสินค้าที่ต้องการฝากขายไปยังผู้รับฝากขาย
---2. เมื่อผู้รับฝากขายขายสินค้าได้จะส่งมอบสินค้าไปยังผู้ซื้อ
---3. ผู้ชำระเงินค่าสินค้าไปยังผู้รับฝากขาย
---4. ทุกสิ้นเดือนผู้รับฝากขายจัดทำรายงานการขาย ซึ่งสรุปยอดขายสินค้า รับฝากขายหักค่าค่านายหน้าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับฝากขาย (ดังแสดงดังภาพต่อไปนี้)
ประโยชน์ของการฝากขาย
ด้านผู้ฝากขาย
---1. เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ
---2. เพื่อช่วยขยายตลาดของสินค้า
---3. เพื่อช่วยในการเลือกผู้รับฝากขาย/ตัวแทนได้อย่างเหมาะสม
---4. เพื่อช่วยควบคุมราคาขายปลีกให้แก่ผู้บริโภค
ด้านผู้รับฝากขาย
---1. เพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของราคา
---2. เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากสินค้าล้าสมัย
---3. ทำให้ไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก
---4. ได้รับผลตอบแทนจากการรับฝากขาย

วันจันทร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓

ผลงานการจัดสถานที่ของพวกเรา..จ้า..

เก็บผลงานมาฝาก

ประชุมการใช้ระบบควบคุมผลงาน
เชิงประจักษ์ ณ โรงแรมคุ้มสุพรรณ
พานักศึกษาใหม่ดูงาน ณ ตลาดธนบุรี
งานเกษียณอายุราชการ ณ สวนผึ้ง
พานักศึกษาร่วมงานอาหารกลางวัน ณ กรุงเทพ
อบรม "ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ"
ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
19 เมษายน 2553
ประชุมเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านบัญชี
ณ วท.ปทุมธานี วันที่ 22 เมษายน 2553

บรรยากาศ..การมอบใบประกาศนียบัตร..ประจำปีการศึกษา 2552



3 แม่ลูกผูกพันธ์

3 แม่ลูกผูกพันธ์

มะม๊า & ปะป๊า

มะม๊า & ปะป๊า

เกี่ยวกับฉัน